แก้ปัญหาลูกติดเกม

 เมื่อลูกติดมือถือ คุณพ่อคุณแม่จะแก้ปัญหาและรับมืออย่างไรกันดี?


ภาพที่ 1 จาก LovePik  


วันนี้เราจะมาแชร์แบ่งปันความรู้เพื่อร่วม

แก้ปัญหาไปด้วยกันนะคะ


ปัญหานี้พี่เจี๊ยบศรีว่าน่าจะเป็นปัญหาใหญ่คับอกคับใจคุณพ่อคุณแม่ในยุคติจิตอลออนไลน์นี้ทุกคนใช้มือถือเปรียบเสมือนอวัยวะที่ 33 ของร่างกายไปแล้ว🌺


ภาพที่ 2 ผู้เขียนถ่ายเอง


และด้วยปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปทุกครอบครัว ส่งผลทำให้เด็กต้องหยุดไปโรงเรียน ไม่ได้ไปเรียนทุกวันเหมือนที่ผ่านมา มีการสลับเรียนวันเว้นวันเพื่อลดการแพร่ระบาดและเพื่อป้องกันตามมาตรการของที่รัฐบาลกำหนด


พอเด็กไม่ได้ไปโรงเรียนแต่พ่อแม่ต้องทำงานทำให้เกิดปัญหาเด็กเรียนออนไลน์แต่ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้มีสมาธิในการเรียนได้ มีแอบที่จะเล่นเกมบ้างซึ่งพี่เจี๊ยบศรีคิดว่าเป็นปัญหาของทุกบ้านในตอนนี้เพราะบ้านพี่เจี๊ยบศรีก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน


แล้วเราจะจัดการอย่างไรดีกับปัญหานี้

สำหรับบ้านพี่เจี๊ยบศรีก็จะใช้วิธีทำความตกลงกับลูกเรื่องการเล่นเกมในมือถือโดยการกำหนดกฎเกณฑ์ และข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างลูกกับเราค่ะ


เมื่อบริบทของแต่ละบ้านไม่เหมือนกันแนวทางอาจนำไปใช้ได้ผลบ้างหรือไม่ได้ผลก็ต้องค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกันดูค่ะ



ภาพที่ 3 จาก pixelbay 


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมตามลิงก์ด้านล่างค่ะ


เด็กติดเกม ทำเด็กก้าวร้าวควบคุมตัวเองไม่ได้จิตแพทย์แนะ!วิธีป้องกันและแก้ไข


อย่าใช้ความกดดัน ให้เปลี่ยนมาใช้การคุยแบบกำหนดกฎกติการ่วมกันแบบยืดหยุ่นแต่ไม่หย่อนยาน


  • กำหนดเวลา

  • แบ่งเวลา

  • สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับลูก

  • พยายามแก้ไขแบบใจเย็นโดยกำหนดกฎกติการ่วมกัน


ข้อตกลงที่ว่าก็คือ สิทธิจะได้เมื่อคุณทำหน้าที่ของคุณเสร็จแล้ว ดังนั้นถ้าคุณมีหน้าที่ทำอะไรไม่ว่าจะเป็นการบ้านหรืองานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ถ้าทำเสร็จแล้วจึงจะมีสิทธิ์ที่จะเล่นเกมตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้


มาดูตัวอย่างที่บ้านของของพี่เจี๊ยบศรีกันค่ะ  ถ้าลูกมีการบ้านหรืองานที่คุณครูสั่งลูกต้องรับผิดชอบทำงานนั้นให้เสร็จเสียก่อนถึงจะได้เล่นเกมตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ เช่น 


  • จะเล่นมือถือได้ 1 ชั่วโมงเท่านั้นและต้องหยุดเล่นเพื่อพักสายตา (ความเป็นจริงอาจเกินเวลาบ้างแต่ก็พอยืดหยุ่นได้นิดหน่อยค่ะ)

  • ในเวลากินข้าวต้องวางมือถือห้ามเล่นมือถือระหว่างกินข้าว เป็นต้น


คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนกำหนดกฎเกณฑ์แล้วต้องทำอย่างจริงจัง และมีวินัยห้ามใจอ่อน เพราะว่าลูกของเราเขาก็จะมองดูว่าคุณพ่อคุณแม่นั้นเอาจริงไหมทำจริงหรือเปล่า 


เด็ก ๆ จะมีการทดสอบเรา โดยอาจมีการต่อต้านในเบื้องต้น แต่ขอให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนพยายามแล้วก็ยึดมั่นในข้อตกลงที่ตกลงกันไว้ แล้วจะสามารถจัดการเรื่องมือถือได้อย่างแน่นอน


แต่ละบ้านอาจใช้เวลาไม่เท่ากันแต่ขอให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มตกลงกับเขาตั้งแต่แรก ๆ ถ้าเป็นบ้านไหนที่ยังไม่ได้ให้มือถือลูกเล่นถือว่าดีมากเลยนะคะ  แต่ส่วนใหญ่จะให้มือถือลูกแล้วมักจะไม่กำหนดกฎเกณฑ์ลูกก็เลยเล่นแบบไหลไปเรื่อยๆจริงไหมคะ ?


ข้อที่ควรระวัง คือ คุณพ่อคุณแม่ควรจะมีการฝึกจัดการอารมณ์ของตัวเองเป็นอันดับแรก ในการตั้งรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในการคุยกับลูกในเรื่องนี้ (ท่องไว้ ลูกกู ดื้อเหมือนกู...จำไว้ 555 เย็นไว้โยม)


คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องดูอารมณ์ของลูกก่อนที่จะเข้าไปพูดคุยทำความตกลงกับเขา เพราะถ้าอารมณ์เขาไม่ดีแล้วเราเข้าไปพูด ไม่เพียงแต่ลูกจะไม่ฟัง แต่พร้อมที่จะพังกับเราได้ทุกเมื่อ


ดังนั้นควรหาเวลาคุยก่อนนอนเป็นตอนที่ผ่อนคลายและดีที่สุด ลองพูดคุยกับเขาดู โดยบอกถึงความรู้สึกของแม่ให้ลูกได้รู้ เช่น แม่เป็นห่วงลูกนะ แม่รักลูกไม่อยากให้ลูกเล่นมือถือจนทำให้เสียการเรียนและเสียสุขภาพ 


ขอให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งสติรับมือโดยการควบคุมอารมณ์ให้ได้ก่อนนะคะ




พี่เจี๊ยบศรีขอเป็นกำลังใจให้ทุกบ้านนะคะ


แล้วพบกันใหม่บทความหน้าจะมาคุยการสื่อสารยังไงกับลูกให้ได้ผลแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่นและการสร้างเงื่อนไขวางกฎกติการ่วมกันค่ะ

ด้วยรักและเป็นห่วง


พี่เจี๊ยบศรี

ติดตามผลงานของพี่เจี๊ยบศรี ได้ที่

YouTube :  Jeabsri channel

Youtube

Blockdit

FB.Page : เจี๊ยบศรี


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สัมภาษณ์ ช่างผมฝีมือดีแห่งร้าน Hair Emotion

วิธีทำให้ทาอายแชโดว์ติดทนนาน

รีวิวชายสมัยคาเฟ่ 2498 บางกอก